วันเสาร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2554

ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ (ไร่สุวรรณ)

อยู่ในเขตตำบลกลางดง อำเภอปากช่อง ตั้งอยู่บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 155 ริมถนนมิตรภาพ ศูนย์วิจัยแห่งนี้แต่เดิม คือ ธนะฟาร์มซึ่งเป็นของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2508 ได้มอบให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยฯ นี้ รับผิดชอบงานวิจัย งานฝึกอบรมและเผยแพร่วิชาการเทคโนโลยีการเกษตร ปัจจุบันมีการจัดกิจกรรมทางด้านทัวร์เกษตรสำหรับหมู่คณะที่สนใจศึกษาเทคโนโลยีการเกษตร เช่น กระบวนการผลิต การเก็บเกี่ยวข้าวโพดหวาน ฯลฯ และกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เดินป่า ไร่สุวรรณมีพื้นที่ประมาณ 3,000 ไร่ โดยมีแนวเขากั้นเป็นแนวแบ่งระหว่างด้านหน้าและด้านหลังเขา ซึ่งภูเขายังคงสภาพป่าที่สมบูรณ์ มีสัตว์อาศัยอยู่หลายชนิด เช่น ลิง ไก่ป่า นก กระรอก ฯลฯ การเข้าชมเป็นหมู่คณะและต้องการวิทยากรบรรยายให้ความรู้ควรติดต่อล่วงหน้า สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมในวันและเวลาราชการ โทร. 0 4436 1770-4 โทรสาร 0 4436 1108

เขื่อนลำตะคอง

เขื่อนลำตะคอง






เขื่อนลำตะคอง  ตั้งอยู่ตำบลลาดบัวขาว ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๖๒ กิโลเมตร มีทางแยกจากทางหลวงหมายเลข ๒ (นครราชสีมา-สระบุรี) บริเวณกิโลเมตรที่ ๑๙๖-๑๙๗ ประมาณ ๒ กิโลเมตร เป็นเขื่อนดินสร้างกั้นลำตะคองที่ช่องเขาเขื่อนลั่นและช่องเขาถ่านเสียดในปีพ.ศ. ๒๕๑๗  เพื่อนำน้ำเหนือเขื่อนมาใช้ประโยชน์ในด้านชลประทาน นักท่องเที่ยวสามารถเดินเที่ยวบนสันเขื่อนเพื่อชมทิวทัศน์ของอ่างเก็บน้ำซึ่งมีฉากหลังเป็นภูเขาสวยงามเหมาะสำหรับพักผ่อนในยามแดดร่มลมตก เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา ๐๖.๐๐ – ๑๘.๐๐ น

ลำตะคอง คือสายน้ำสำคัญเส้นหนึ่งของชาวโคราช หลังจากสร้างเขื่อนลำตะคอง เมื่อปีพ.ศ. 2512 แล้วจึงเกิดทะเลสาปกว้างใหญ่ที่งดงามโดยเฉพาะยามพระอาทิตย์อัสดงสะท้อนบนแผ่นน้ำ เขื่อนแห่งนี้เป็นเขื่อนดิน ที่สร้างขึ้นเพื่อกักเก็บน้ำสำหรับการเกษตร อุปโภค และบริโภค และลดความรุนแรงของอุทกภัย
ริมเขื่อนมีที่ให้นั่งหย่อนอารมณ์ และร้านอาหารท้องถิ่นประเภท ไก่ย่าง และส้มตำรสเด็ด หรือผู้ที่ขับยวดยานต์ผ่านไปบนถนนมิตรภาพ ก็สามารถชมวิวทิวทัศน์ของอ่างเก็บน้ำของเขื่อนลำตะคองได้เช่นกัน
สร้างปิดกั้นลำตะคอง ที่อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา เป็นเขื่อนดินสูง 40.30 เมตร สันเขื่อนยาว 521 เมตร เก็บน้ำได้ 310 ล้านลูกบาศก์เมตร สร้างพ.ศ. 2507 เสร็จพ.ศ. 2512 ใช้ประโยชน์สำหรับการเพาะปลูกในฤดูฝน 127,540 ไร่ และในฤดูแล้งอีก 50,000 ไร่ รวมทั้งใช้เพื่อการประปาในเขตอำเภอสีคิ้ว อำเภอโนนสูง อำเภอขามทะเลสอ และเขตเทศบาล นครราชสีมาเพื่อโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อบรรเทาอุกทกภัยในลุ่มน้ำลำตะคอง ลุ่มน้ำมูลให้ ลดน้อยลง



        ภาพข้างล่างนี้เป็นบรรยากาศส่วนหนึ่งที่พวกเราไปศึกษาดูงานกัน
                                  
หลังจากที่เข้ารับฟังการบรรยาย

เพื่อนๆแข่งกันยิ้ม


อากาศเย็นสบายมากค่ะ



ตุ๊กตาพลังงานแสงอาทิตย์



ลมแรงมากเลย


กังหันลมใหญ่มากๆ

กลุ่มเพื่อนพวกเราสนุกมาก

ที่มา http://www.thailarvelhealth.com/

SOLAR FARM

SOLAR FARM

บริษัทบางกอก โซลาร์ เพาเวอร์ จำกัด ผู้ให้บริการติดตั้งและผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ เห็นโอกาสสร้างรายได้ให้กับธุรกิจตั้งแต่เมื่อ 6 ปีที่แล้ว หลังจากเห็นแนวโน้มของโลกหันมาใช้ไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานทดแทนมากขึ้น

รัฐบาลมีนโยบายว่าในปี 2556 ต้องการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น 500 เมกะวัตต์ แม้ว่าบริษัทเอกชนหลายแห่งจะรู้ข้อมูลนี้และยื่นขอเป็นผู้ผลิตกระแสไฟฟ้าถึง 3 พันราย และได้รับอนุมัติให้ผลิต 1 พันกว่ารายก็ตามที ทว่ายังมีผู้ผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนได้จริงเพียงไม่กี่รายเท่านั้น

บริษัทบางกอก โซลาร์ เพาเวอร์ เลือกผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ เพราะประเทศไทยอยู่ในเขตร้อน ที่ตั้งภูมิศาสตร์รับแดดตลอดทั้งปี ประการสำคัญไม่มีต้นทุนวัตถุดิบ คือแสงอาทิตย์

แต่การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์จะมีต้นทุนการเช่าหรือซื้อพื้นที่ขนาดใหญ่ เช่น ปริมาณกระแสไฟฟ้าผลิตได้ 1 เมกะวัตต์ จะใช้พื้นที่ 25 ไร่ เพื่อติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ 20,000 แผง และใช้เงินทุนเริ่มต้นราว 100 ล้านบาท การใช้พื้นที่ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ขนาดใหญ่จึงเรียกว่า "โซลาร์ฟาร์ม"

ปัจจุบันบริษัทจำหน่ายกระแสไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคประมาณ 7.2 เมกะวัตต์ จากโซลาร์ฟาร์มทั้งหมด 6 แห่งในต่างจังหวัด

โซลาร์ฟาร์มทั้ง 6 แห่ง อยู่ในจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นโรงงานแห่งแรกผลิตไฟฟ้า 1.49 เมกะวัตต์ จังหวัดอุดรธานี 1 ผลิต 285 กิโลวัตต์ จังหวัดอุดรธานี 2 ผลิต 1.5 เมกะวัตต์ อ่างทอง 1 ผลิต 1 เมกะวัตต์ จังหวัดเพชรบุรี ผลิต 2.1 เมกะวัตต์ และนครสวรรค์ 0.5 เมกะวัตต์

ในปีนี้คาดว่าจะเพิ่มการผลิตไฟฟ้าอีก 14 เมกะวัตต์ หรือติดตั้งโซลาร์ฟาร์มเพิ่มขึ้น 3 แห่ง คือจังหวัดนครราชสีมา ผลิตไฟฟ้า 1.1 เมกะวัตต์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผลิตไฟฟ้า 1.5 เมกะวัตต์ และจังหวัดลพบุรี ผลิตกระแสไฟฟ้า 11 เมกะวัตต์

การผลิตไฟฟ้าของบริษัทจะเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก หรือเรียกว่า Very Small Power Plant: VSPP เป็นการผลิตไฟฟ้าไม่เกิน 10 เมกะวัตต์

กฤษฏา จงไพบูลย์พัฒนะ รองประธานฝ่ายการตลาดและการขาย บริษัทบางกอก โซลาร์ เพาเวอร์ บอกเหตุผลกับ ผู้จัดการ 360 ํ ว่าการที่เลือกผลิตไฟฟ้าในรูปแบบ VSPP โดยใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ เพราะรัฐสนับสนุนเพิ่มรายได้ (adder) ให้อีก 8 บาทต่อ 1 หน่วย หมายความว่าบริษัทสามารถขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ในราคา 11 บาทต่อหน่วย ซึ่งรัฐจะสนับสนุนเป็นระยะเวลา 10 ปี

บริษัทบางกอก โซลาร์ เพาเวอร์ นอกจากจะเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าแล้วยังได้ผันตัวเองมาเป็นผู้ให้บริการติดตั้งโซลาร์ฟาร์มให้กับบริษัทเอกชน โดยอาศัยความรู้ประสบการณ์ที่เริ่มต้นจากศูนย์ในธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์ เริ่มตั้งแต่ให้คำปรึกษา ติดต่อหน่วยงานราชการ การวิเคราะห์ต้นทุน ผลตอบแทน ความเสี่ยง และโอกาสในธุรกิจ

ด้วยประสบการณ์ดังกล่าว เมื่อปลายปีที่ผ่านมาบริษัทจัดสัมมนาครั้งใหญ่ภายใต้หัวข้อ "ลงทุนในกิจการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์อย่างไรให้เร็วและได้กำไรสูงสุด"

การสัมมนาในครั้งนั้นผู้ประกอบการให้ความสนใจค่อนข้างมาก และมีความต้องการลงทุน แต่ติดปัญหาอุปสรรคในการขอสินเชื่อจากธนาคารที่ยังไม่มีความเข้าใจในธุรกิจนี้อย่างแท้จริง

อย่างไรก็ดี เมื่อปีที่ผ่านมาบริษัทเซ็นสัญญากับบริษัทเอกชน 1 ราย รับจ้างสร้างโซลาร์ฟาร์ม เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า 150 เมกะวัตต์ ภายใน 3 ปี นับว่าเป็นการผลิตไฟฟ้า จากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่กว่าบริษัทหลายเท่า

การหันมาเป็นผู้รับจ้างผลิตและที่ปรึกษา เป็นการเพิ่มช่องทางขยายธุรกิจ เพื่อสร้างรายได้เพิ่มให้กับบริษัท จากที่ผ่านมามีรายได้ประมาณ 900 ล้านบาท

ตลาดต่างประเทศเป็นตลาดใหม่ของบริษัท เริ่มดำเนินงานเมื่อปี 2549 บริษัทมองเห็นโอกาสในธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์ เพราะประเทศพัฒนาแล้วในยุโรปรัฐบาลจะสนับสนุนรายได้ (adder) ให้ 20 บาท เป็นระยะเวลา 20 ปี มากกว่าที่รัฐบาลไทยให้การสนับสนุนเอกชน

ทำให้บริษัทตัดสินใจตั้งบริษัทในเยอรมนีชื่อบริษัทบางกอก โซลาร์ เพาเวอร์ Gmbh จำกัด เมื่อปีที่ผ่านมาเพื่อบุกตลาด ในยุโรปทำให้บริษัทรับจ้างสร้างโซลาร์ฟาร์มให้ 3 ประเทศคือ เยอรมนี ฝรั่งเศส และอิตาลี เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า 100 เมกะวัตต์

บริษัทบางกอก โซลาร์ เพาเวอร์ ไม่ได้ดำเนินธุรกิจเพียงลำพัง แต่มีบริษัทในเครือคือ บริษัทบางกอกโซลาร์ จำกัด ช่วยสนับสนุนทำธุรกิจ มีบทบาทหน้าที่ในการผลิตแผงโซลาร์เซลล์ และพัฒนาวิจัยให้มีคุณภาพ

บริษัทบางกอก โซลาร์มีกำลังการผลิตแผงโซลาร์เซลล์ 1,250,000 แผ่นต่อปี เป็นแผงโซลาร์เซลล์ ชนิดอะมอร์ฟัสซิลิกอนแบบฟิล์มบาง (Amorphous Silicon Thin-Film Module) ที่เหมาะสำหรับสภาพอากาศร้อนชื้นในประเทศไทย เป็นแผงที่รับพลังงานแสงอาทิตย์ได้ตั้งแต่ 6 โมงเช้าจนถึง 6 โมงเย็น

การผลิตแผงโซลาร์เซลล์ชนิดอะมอร์ฟัสซิลิกอน บริษัทเป็นผู้ผลิตเพียงรายเดียวในประเทศไทย แต่ยอมรับว่ายังมีต้นทุนที่สูง หรือราคาแผ่นละ 5 พันบาท ดังนั้นแผงโซลาร์เซลล์ชนิดนี้จึงเหมาะติดตั้งในบริษัท หรือฟาร์มต่างๆ เพื่อผลิตและจำหน่ายไฟฟ้ามากกว่าลงทุนติดตามบ้านต่างๆ

สำหรับบริษัทบางกอก โซลาร์ จำกัด และบริษัทบางกอก โซลาร์ เพาเวอร์ จำกัด อยู่ในเครือบางกอก เคเบิล กรุ๊ป ผู้ผลิตและจำหน่ายสายเคเบิลทองแดง เคเบิลอะลูมิเนียม สายโทรศัพท์

แต่หลังจากที่รัฐบาลมีนโยบายติดตั้งไฟฟ้าในชนบท เรียกว่า ไฟฟ้าเอื้ออาทร หรือ โซลาร์โฮม บริษัทจึงร่วมประมูลภายในนามบริษัทบางกอก โซลาร์ จำกัด และติดตั้ง 2 เฟส เฟสแรกติดตั้ง 25,000 หลังคาเรือน เฟสที่สองติดตั้งอีก 20,000 หลังคาเรือน บริษัทจึงซื้อโรงงานเพื่อผลิตแผงโซลาร์เซลล์ป้อนให้กับโครงการไฟฟ้าเอื้ออาทร จังหวัดฉะเชิงเทรา

บ้านแต่ละหลังจะมีต้นทุนค่าใช้จ่ายในการติดตั้งหลังละ 25,000 บาท โดยติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ 3 แผ่นบนหลังคา แผงโซลาร์เซลล์ 1 แผ่นให้พลังงาน 40 วัตต์ สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ 140 วัตต์ต่อวัน

ผู้ใช้ไฟในบ้านสามารถใช้ไฟได้ประมาณ 4 ชั่วโมงต่อวัน คือใช้ไฟฟ้าได้ 2 หลอด หลอดละ 10 วัตต์ และโทรทัศน์อีก 1 เครื่อง
สมพงศ์ นครศรีประธานกรรมการบริหาร บริษัทบางกอก โซลาร์ จำกัด บอกกับ ผู้จัดการ 360 ํ ว่า หลังจากติดตั้งโซลาร์ โฮมแล้วเสร็จ บริษัทเริ่มออกไปต่างประเทศ ขายไฟฟ้าให้กับบริษัทในเยอรมนี เริ่มจาก 5 เมกะวัตต์ ขยายเป็น 20 เมกะวัตต์

ในขณะที่ขายไฟฟ้าให้กับประเทศเยอรมนี บริษัทเริ่มสร้างโซลาร์ฟาร์มในประเทศไทย เพื่อขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้า ส่วนภูมิภาคควบคู่กันไปด้วย

"หัวใจการทำธุรกิจโซลาร์ฟาร์ม คือเพิ่มประสิทธิภาพ และลดต้นทุนธุรกิจ ถ้าทำทั้งสองอย่างนี้ได้ ธุรกิจจึงจะอยู่รอดได้" เป็นคำกล่าวของสมพงศ์ที่เขารู้ดีว่าแม้ว่าธุรกิจนี้จะไปได้ดีในตอนนี้ แต่อนาคตเขายังไม่สามารถตอบได้อย่างเต็มคำ   


พลังงานทางเลือก

     เป็นที่รู้กันแล้วว่าช่วงทศวรรษที่ผ่านมาปริมาณน้ามันสารองของโลกเริ่มลดลง ปัญหาหนักหนาสาหัสที่มนุษย์เรากาลังจะต้องเผชิญ นั่นคือปริมาณการผลิตน้ามันหยุดเพิ่มขึ้นแล้ว M. King Hubbert นักธรณีวิทยาชาวอเมริกันได้คาดการณ์ไว้ว่า ปริมาณน้ามันสารองของโลกน่าจะอยู่ที่ 2.1 ล้านล้านบาร์เรล และปริมาณการผลิตขึ้นถึงจุดสูงสุดในปี 2000 ส่วนปริมาณการผลิตของสหรัฐขึ้นถึงจุดสูงสุดในปี 1970 ปริมาณการผลิตน้ามันในปี 2003 เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับปี 1998 หรือเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.6 ต่อปีเท่านั้น จากแนวโน้มเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า หากมนุษย์ยังต้องอาศัยพลังงานในการดารงชีวิต จาเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งหาแหล่งพลังงานทดแทนให้ทันท่วงทีกับการหมดไป ของน้ามัน

    พลังงานทดแทนหรือพลังงานที่จะมาเป็นทางเลือกนี้ น่าจะหมายถึงพลังงานที่สะอาด สามารถนามาหมุนเวียนใช้ได้ต่อเนื่องไม่มีวันหมด และยังเป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อม ไม่ก่อให้เกิดภาวะมลพิษต่างๆ ต่อโลกด้วย พลังงานทดแทนที่สาคัญก็คือ พลังงานจากแสงอาทิตย์ และพลังงานจากลม ที่ธุรกิจต่างๆ เริ่มเห็นความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม ช่วงนี้ถือเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม เนื่องจากมีปัจจัยผลักดันหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นราคาน้ามัน ถ่านหิน ก๊าซ ที่เป็นแหล่งพลังงานในปัจจุบันปรับตัวสูงขึ้นมาก การได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลหลายประเทศในเรื่องของกฎระเบียบและภาษีต่างๆ การพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องทาให้ต้นทุนในการพัฒนาแหล่ง พลังงานทางเลือกลดลง อีกทั้งปัญหาทางด้านสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้น เช่น ภาวะเรือนกระจกทาให้โลกร้อน ก็เป็นสิ่งที่คนทั่วโลกตระหนักถึงพลังงานที่สะอาดมากขึ้น และเป็นไปได้อย่างยิ่งที่การพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานทดแทนนี้ จะเป็นอุตสาหกรรมหลักที่เติบโตรวดเร็วที่สุดในศตวรรษที่ 21 โดยในปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์เติบโตสูงถึง 30% และพลังงานลมเติบโตถึง 37% ทั่วโลก ปัจจุบันเทคโนโลยีผลิตพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมนั้น

   ได้พัฒนาจนกระทั่งทาให้ต้นทุนลดต่าลงมาก จนเริ่มที่จะแข่งขันกับแหล่งพลังงานอื่นๆ ได้แล้ว ต้นทุนผลิตไฟฟ้าของอเมริกาตอนนี้ ที่ราคาของทั้งก๊าซ และถ่านหินปรับตัวสูงขึ้นอยู่ที่ประมาณ 5 ถึง 16 เซนต์ต่อชั่วโมงกิโลวัตต์ แต่ตอนนี้การผลิตไฟฟ้าจากลมมีต้นทุนเพียงแค่ 3 ถึง 5 เซนต์ต่อชั่วโมงกิโลวัตต์เท่านั้น แม้ว่าในปัจจุบัน การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ยังมีต้นทุนสูงกว่าพลังงานจากลม 3 ถึง 5 เท่า แต่หากมีการร่วมกันทาการวิจัยและพัฒนาอย่างจริงจังมากขึ้น พลังงานจากแสงอาทิตย์จะเริ่มมีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะแข่งขันได้ประมาณ ตั้งแต่ปี 2010 หรือ 2015 เป็นต้นไป



         การเดินทางไปศึกษาดูงานของนิสิตภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมาหาสารคาม ในระหว่างวันที่ 7-9  ธันวาคม 2553  ฟาร์มโซล่าเซลล์แห่งนี้เป็นแหล่งความรู้ชั้นเยี่ยมอีกแห่งของการดูงานของพวกเรานิสิตชั้นปีที่สาม วันนั้นพอพวกเราเดินทางไปถึงก็ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี  บุคลา
กรทุกท่านมีความยิ้มแย้มแจ่มใส เป็นกันเอง  และรวมไปถึงท่านวิทยากร พี่วิศวกร ที่คอยบรรยายให้ความรู้แก่พวกเรา  ดิฉันและเพื่อนรวมทั้งอาจารย์ ได้มีโอกาศเข้ารับฟังการบรรยายและชมบรรยากาศบริเวณภายนอกแผงโซล่าเซลล์ที่ฟาร์มโซล่าเซลล์แห่งนี้และแผนงานต่างๆเป็นความรู้ทางด้านฟิสิกส์มากมายโดยเฉพาะด้านพลังงาน  เหตุทีเราไม่ได้เข้าไปในแผลโซล่าเซลล์ก็เพราะเงาของคนอาจบดบังแสงแดดและทำให้ธุรกิจเกิดความเสียหายเนื่องจากทุกวินาทีที่มีแสงแดดนั่นหมายถึงพลังงานที่ได้และเงินที่ได้นั่นเอง

วันศุกร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2554

สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน

ประวัติสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)
เริ่มดำเนินงาน


แนวความคิดในการก่อสร้างเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนในประเทศไทย เริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2539  โดยสภาวิจัยแห่งชาติในขณะ นั้นได้อนุมัติให้มีการศึกษาความเป็นไปได้ จากนั้นกลุ่มนักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการชั้นนำของประเทศไทยจากสถาบันต่างๆ 5 ท่าน   ได้เดินทางไป ยังประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี และไต้หวัน เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน และงานวิจัยด้านแสงซินโครตรอน  และ ได้รายงานสรุปผลการศึกษา จากนั้นได้มีการจัดตั้งกลุ่มทำงาน ประกอบด้วยนักฟิสิกส์ 15 ท่าน    เพื่อเพื่อร่างโครงการเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน ของประเทศไทย และในปี พ.ศ.2537 กลุ่มทำงานได้ตัดสินใจออกแบบเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน   ซึ่งมีวงกักเก็บอิเล็กตรอนระดับพลังงาน 1 ถึง 1.3 GeV และทำการศึกษาพิจารณาสถานที่ก่อสร้างที่เหมาะสม
          ในปี พ.ศ.2538    ได้มีการจัดสัมมนาในกรุงเทพมหานคร     โดยได้เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนจากสหรัฐ อเมริกา มาเพื่อแนะนำและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกแบบเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน  จากนั้นได้มีการจัด Regional Workshop on Applications of Synchrotron Radiation ในกรุงเทพมหานครขึ้นในเดือนมกราคม ปี 2539   โดยมีนักวิทยาศาสตร์จากประเทศต่าง ๆ ในกลุ่มประเซียนเข้าร่วมรับฟังข้อมูลเกี่ยวกับงานวิจัยทางด้านแสงซินโครตรอนโดยนักฟิสิกส์ชั้นนำจากสหรัฐอเมริกา สวีเดน เยอรมัน ญี่ปุ่น จีน   และ ออสเตรเลีย และในงานนี้ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการก่อสร้างเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนในประเทศไทยอีกครั้ง
          ในปลายปี     2538      ประเทศไทยได้รับข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนระดับพลังงาน   1 GeV     ของกลุ่มบริษัท SORTEC Corperation ใน Tsukuba ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งกำลังจะสิ้นสุดโครงการวิจัยระยะสิบปีในเดือนมีนาคม 2539 และมีความเป็นไปได้ที่กลุ่มบริษัท SORTEC Corperation จะทำการบริจาคเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนดังกล่าว จึงได้มีการพิจารณาความเป็นไปได้นี้ในงานสัมมนา ที่กรุงเทพมหานครในเดือนมกราคม 2539 ด้วย 
          ในปลายเดือนมกราคม   2539   หลังจากการสัมมนา      กลุ่มนักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการจากประเทศไทยได้เดินทางไปยังเมือง Tsukuba ประเทศญี่ปุ่น เพื่อตรวจสอบเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนของกลุ่มบริษัท   SORTEC Corperation   และพบว่ายังอยู่ในสภาพที่ดี ดังนั้นในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2539 สภาวิจัยแห่งชาติในขณะนั้นได้ตัดสินใจเสนอโครงการแสงสยาม (Siam Photon Project) เข้าไปยังรัฐบาลไทย และในวันที่ 5 มีนาคม 2539 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติโครงการแสงสยาม และการก่อตั้งศูนย์ปฏิบัติการวิจัยเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนแห่งชาติขึ้น
          เครื่องกำเนิดแสงสยาม ( Siam Photon Source )  เป็นเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน ประกอบด้วยระบบเครื่องเร่งอนุภาคและวงกักเก็บอิเล็กตรอนระดับพลังงาน 1 GeV ซึ่งดัดแปลงจากเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนที่ได้รับบริจาคจากกลุ่มบริษัท     SORTEC Corperation  ประเทศญี่ปุ่นให้เป็นเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนที่สามารถให้บริการแสงซินโครตรอนความจ้าสูง   ( high  brilliant  light source )    สำหรับงานวิจัยด้านต่างๆ ทั้งทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและวิทยาศาสตร์ประยุกต์
          เครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนเดิมที่ได้รับบริจาคมานั้น     เป็นเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนรุ่นเก่า      ซึ่งถูกออกแบบมาเป็นเฉพาะสำหรับการประยุกต์ใช้ทางด้าน Lithography    โดยให้แสงซินโครตรอนที่มีความจ้าต่ำและมีช่วงพลังงานแสงจำกัดเพียงระดับ soft x-rays ทำให้มีขีดจำกัดในการประยุกต์ใช้สำหรับงานวิจัยด้านอื่นๆ ดังนั้นในการก่อสร้างเครื่องกำเนิดแสงสยาม จึงทำการดัดแปลง และออกแบบส่วนของวงกักเเก็บอิเล็กตรอนและส่วนประกอบบางส่วนใหม่ ดังนี้
         • ขยายขนาดของวงกักเก็บอิเล็กตรอน เพื่อเพิ่มส่วนทางตรง ( straight sections ) สำหรับติดตั้งอุปกรณ์พิเศษที่เรียกว่า insertion devices ทั้งประเภท undulator สำหรับเพิ่มความจ้าของแสงซินโครตรอน และประเภท wiggler สำหรับขยายช่วงพลังงานแสงซินโครตรอนขึ้นไปถึงระดับ hard x-rays โดยวงกักเก็บอิเล็กตรอนของเครื่องกำเนิดแสงสยาม จะมีช่วงทางตรง 4 ช่วง สำหรับติดตั้ง insertion device ได้ 4 ชิ้น
        •  เปลี่ยนโครงสร้าง หรือ lattice ของวงกักเก็บอิเล็กตรอนมาเป็นแบบที่เรียกว่า double bend acromat ( DBA ) เพื่อลดขนาด emittance สำหรับการผลิตแสงซินโครตรอนความจ้าสูง
        •  สร้างท่อสุญญากาศ (vacuum chamber) ของวงกักเก็บอิเล็กตรอนใหม่
        •  สร้างระบบลำเลียงอนุภาคพลังงานสูง (High Energy Beam Transport Line) สำหรับลำเลียงอิเล็กตรอนจากเครื่องเร่งอนุภาคเข้าสู่วงกักเก็บอิเล็กตรอนใหม่
        •  ออกแบบ และจัดสร้าง insertion device เพื่อผลิตแสงซินโครตรอนสำหรับงานวิจัยด้านต่างๆ 
        •  เปลี่ยนระบบควบคุมเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน ให้เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย
สถานที่ตั้งสำนักงาน
สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)
111 อาคารสุรพัฒน์ 3 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ถ.มหาวิทยาลัย ต.สุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30000
เบอร์โทรศัพท์: 0 44 217 040
เบอร์โทรสาร : 0 44 217 047




พวกเราสนุกและตื่นเต้นมาก